วันอาสาฬหบูชา
ความหมาย
วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ หรือ เดือน ๘ เนื่องในโอกาสคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนาเป็นครั้งแรก โดยแสดงปฐมนิเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร เป็นผลให้เกิดมีพระสาวกรูปแรกขึ้นในพระพุทธศาสนา จนถือได้ว่า เป็นวันแรกที่มี พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ครบเป็นองค์ ๕ พระรัตนตรัย
ความสำคัญ
๑. ส่วนที่เกี่ยวกับพระพุทธเจ้า
เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้ในวันเพ็ญเดือน ๖ และได้ประทับอยู่ ณ บริเวณที่ตรัสรู้นั้นตลอด ๗ สัปดาห์ พระองค์ทรงใคร่ครวญถึงผู้ที่พระองค์จะแสดงธรรมโปรด อันดับแรกทรงระลึกถึงอาฬารดาบส และอุกทกดาบสผู้เคยสอนความรู้ขึ้นณานให้แก่พระองค์มา แต่ท่านทั้งสอง ก็สิ้นชีพไปก่อนแล้ว จึงทรงระลึกถึงปัญจวัคคีย์ คือ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ และอัสสซิ ผู้ที่เคยมีอุปการคุณแก่พระองค์ ทรงทราบด้วยพระญาณว่าฤาษีทั้ง 5 นั้นมีอุปนิสัยแก่กล้าสามารถบรรลุธรรมได้จึงออกจากต้นมหาโพธิ์ ณ ตำบลอุรุเวลาเสนานิคมเดินทางไปยังป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพราณสี แคว้นกาสีเสด็จไปถึงเย็นวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือนอาสาฬหะ
รุ่งขึ้นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ พระองค์จึงทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร อันเป็นธรรมเทศนากัณฑ์แรกโปรดปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้นเอง
สรุปความได้ว่า บรรพชิต (นักบวช) ไม่ควรประพฤติที่สุดโต่ง ๒ ส่วน คือ
๑. การหมกมุ่นมัวเมาอยู่ในกามสุข (การสุขัลลิกานุโยค)
๒. การทรมานตัวเองให้ลำบาก(อัตตกิลมถานประโยค)
ควรดำเนินตามทางสายกลาง (มัชณิมาปฏิปทา )คือมีความเห็นชอบ (สัมมาทิฏฐิ)มีความดำริชอบ(สัมมาสังกัปปะ เจรจาชอบ (สัมมาวาจา) ทำการงานชอบ (สัมมากัมมันตะ) เลี้ยงชีพชอบ (สัมมาอาชีวะ) เพียรชอบ (สัมมาวายามะ) ระลึกชอบ(สัมมาสติ) และตั้งมั่นชอบ (สัมมาสมาธิ) ต่อจากนั้นจึงทรงแสดงอริยสัจ 4 คือ หลักความจริงของชีวิตที่เมื่อรู้แล้วจะทำให้หมดกิเลสอันได้แก่ ทุกข์ (ความเกิดความแก่) และความตาย เป็นต้น) สมุทัย (เป็นเหตุให้เกิดทุกข์คือ ความอยากต่างๆ )นิโรธ(ความดับทุกข์ คือ นิพพาน และมรรค (ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์)
เมื่อจบพระธรรมเทศนา ท่านโกณฑัญญะก็ได้ดวงตาเห็นธรรม (เห็นตามเป็นจริง)ว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นเป็นความดับเป็นธรรมดา พระพุทธเจ้า ครั้นทรงทราบว่า โกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม สำเร็จเป็นโสดาบันแล้ว จึงทรงเปล่งอุทานว่า อัญญาติ วะตะ โภ โกณฑัญญะ อัญญาติ วะตะ โภ โกญฑัญญะ แปลว่า โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ อันเป็นเหตุให้ท่านโกณฑัญญะ มา นับแต่นั้น
ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ทูลขอบวช พระพุทธเจ้าทรงให้ด้วยวิธีบวชเอหิภิกขุอุปสัมปทาจึงเป็นอันว่า มีองค์พระรัตนตัรยเกิดขึ้นครบบริบูรณ์ในวันนั้น
๒. การถือปฏิบัติวันอาสาฬหบูชาในประเทศไทย
พิธีวันอาสาฬหบูชาเริ่มกำหนดเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดยพระธรรมโกศาจราย์ (ชอบ อนุจารี) ครั้งดำรงตำแหน่งสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การศึกษาได้เสนอคณะสังฆมนตรี ให้เพิ่มวันศาสนพิธีทำพุทธบูชาขึ้นอีกวันหนึ่ง คือ วันธรรมจักร หรือวันอาสาฬหบูชาด้วยเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมจักกัปปวัตนสูตร คณะสังฆมนตรี ลงมติรับหลักการให้เพิ่มวันอาสาฬหบูชาและให้ถือดป็นหลักปฏิบัติในเวลาต่อมา โดยออกเป็นประกาศคณะสงฆ์ เรื่องกำหนดวันสำคัญทางศาสนา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๐๑ และ ในวันเดียวกันนั้นได้มีประกาศสำนักสังฆนายก กำหนดระเบียบปฏิบัติในพิธีอาสาฬหบูชาขึ้นไว้ให้วัดทุกวัดถือปฏิบัติทั่วกัน กล่าวคือก่อนถึงวันอาสาฬหบูชา ๑ สัปดาห์ ให้เจ้าอาวาทแจ้งแก่พระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษย์วัดคนวัดช่วยกันปัดกวาดปูลาดอาสนะ จัดตั้งเครื่องสักการะให้ประดับธงธรรทจักรรอบพระอุโบสถตลอดวันทั้งเวลาเช้าและเวลาบ่ายให้มีการฟังธรรมตามปกติ เวลาค่ำให้ภิกษุสามเณร อุบาสก อุบาสิกา มาประชุมพร้อมที่หน้าพระอุโบสถหรือพระเจดีย์ จุดธูปเทียนแล้วถือรวมกับดอกไม้ ยืนประนมมือสำรวมจิต
โดยพระสงฆ์ผู้เป็นประธานนำกล่าวคำบูชาจบแล้วทำประทักษิณ ครั้นแล้วให้ภิกษุสามเณรเข้าไปบูชาพระรัตนตรัย ทำวัตรค่ำแล้วสวดธรรมจักกัปปวัตนสูตร จบแล้วให้อุบาสก อุบาสิกา ทำวัตรค่ำต่อจากนั้นให้พระสังฆเถระแสดงพระธรรมเทศนาธรรมจักกัปปวัตนสูตร แล้วให้พระภิกษุสามเณรสวดธรรมจักรกัปปวัตนสูตร ทำนองสรภัญญะ เพื่อเจริญศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิก จบแล้วให้เป็นโอกาสของพุทธศาสนิกชนเจริญภาวนามัยกุศล มีสวดมนต์สนทนาธรรม บำเพ็ญสมทะและวิปัสสนา เป็นต้น ตามควรแก่อัธยาศัย ให้ใช้เวลาทำพิธีอาสาฬหบูชาไม่เกินเวลา ๒๔.๐๐น. และได้มีการทำพิธีอาสาฬหบูชาอย่างกว้างขวางนับแต่นั้นมาทางราชการได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีให้มีการชักธงชาติ ถวายเป็นพุทธบูชาในวันนี้ด้วย
หลักธรรมที่ควรนำไปปฏิบัติ
มัชฌิมาปฏิปทา
มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง หมายถึง ข้อปฏิบัติที่ทำให้บรรลุนิพพานไม่ตึงหย่อนเกินไปซึ่งประกอบด้วย สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะสัมมาวายมะ สัมมาสติและสัมมาสมาธิ
นิพพาน หรือนิโรธ เป็นความสุขที่คนในสังคมอินเดียโบราณต่างมุ่งแสวงหา เพาระถือว่าเป็นความสุขสงบที่เป็นอมตะ ไม่ผันแปร
ในการแสวงหานั้น มีหลักความเชื่ออยู่ ๒ อย่างคือ ความเชื่อที่ว่า การจะบรรลุถึงนิพพานได้นั้น มีได้ด้วยการทรมนาตนเองให้ลำบาก กับคำเชื่อที่ว่าการจะบรรลุถึงนิพพานนั้น มีได้ด้วยการทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสุขต่าง
เมื่อเกิดความเชื่อเช่นนั้น จึงทำให้เกิดการปฏิบัติต่างๆ ติดตามมา ผู้ที่เชื่อว่าการบรรลุนิพพานมีได้ด้วยการทรมานตนเองให้ลำบาก ก็ได้ทรมานตนเองด้วยวิธีต่าง อาทิ อดอาหารจนร่างกายซูบผอมนอนบนหนาม เข้าขี้เถ้าทาตัว และไม่อาบน้ำ ส่วนผู้ที่เชื่อว่า การบรรลุนิพพานมีได้ด้วยการทำตนเองให้พร้อมพรั่งด้วยสิ่งอำนวยความสุขต่างๆ ก็ไดแสวงหาเหมาะสม และหมกมุ่นอยู่กับการเสพสุข แล้วในที่สุดผู้ที่มีความเชื่อ ๒ อย่างนั้น ก็ไม่ได้บรรลุนิพพานอย่างที่หวังไว้ เพราะฝ่ายแรกตึงเกินไป และฝ่ายหลังหย่อนเกินไป เพราะเริ่มต้นมาจากการปฏิบัติผิดนั่นเอง
พระพุทธเจ้า ก่อนตรัสรู้ทรงปฏิบัติมาแล้ว ครั้นทรงเห็นว่าไม่ใช่ทางหรือข้อปฏิบัติให้ได้บรรลุนิพพาน จึงทรงแสวงหาทางสายใหม่ในที่สุดก็ทรงพบว่าอริยมรรค อันประกอบด้วยองค์ ๘ คือ
๑.สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ
๒.สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ
๓.สัมมาวาจา การเจรจาชอบ
๔.สัมมากัมมันตะ การทำงานชอบ
๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ
๖.สัมมาวายามะ เพียรชอบ
๗.สัมมาสติ ระลึกชอบ
๘.สัมมาสมาธิ ตั้งใจมั่นชอบ
เป็นทางสายกลางที่ดีที่สุด แล้วทรงปฏิบัติตามทางสายกลางนั้น ไม่ช้าก็ได้บรรลุนิพพาน
ทางสายกลางที่ว่านั้น เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเป้าหมายให้ชัดเจน แล้วคิดหาทางไปถึงเป้าหมายนั้นให้ได้ ซึ่งก็พบว่าต้องเริ่มต้นด้วยการทำจิตใจให้สงบไม่เองเอียงไปทางข้างตึงหรือข้างหย่อนโดยอาศัยการฝึกสติเป็นตัวนำ พร้อมทั้งเพียรระวังไม่ให้ความคิดที่ไม่ดีเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เพียรละให้ได้ในขณะเดียวกันก็เพียรให้เกิดความคิดที่ดีและเพียรรักษาความคิดที่ดีขึ้นแล้วให้คงอยู่ และพบต่อไปว่าจิตสงบแล้วพฤติกรรทต่างๆทั้งทางกายและวาจาก็สงบด้วย เมื่อสงบครบทางกาย วาจา และใจแล้วก็ได้บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุด คือ นิพพานทั้งทางกายและวาจาก็สงบด้วย เมื่อสวบครบทั้งกาย วาจา และใจก็ได้บรรลุถึงเป้าหมายสูงสุด คือ นิพพาน
ในวิถีชีวิตของปุถุชนนั้น ย่อมมีความสำเร็จเป็นเป้าหมายของชีวิตความสำเร็จได้ ย่อมแตกต่างกันไปตามความปรารถนาของแต่ละคน บางคนปรารถนาความร่ำรวยเป็นความสำเร็จบางคนปรารถนาความร่ำรวยเป็นความมีชื่อเสียงเป็นความสำเร็จ
ความร่ำรวยและความชื่อเสียงมีองประกอบให้ถึงความสำเร็จได้ ๒ ส่วนส่วนแรกเกิดจากผู้ปรารถนาเองและส่วนที่ ๒ เกิดจากสิ่งแวดล้อมสนับสนุน อันอาจได้แก่ บุคคล กาลเทศะ ผู้ปรารถนาจะต้องทำให้เกิดความพอดีระหว่างตนเองและสิ่งแวดล้อมสนับสนุน
ความพอดีกับส่วนตนนั้น ก็เริ่มจากทำความเข้าใจความสำเร็จให้ชัดเจนว่าคืออะไร มีขอบเขตแค่ไหนแล้วคิดหาทางไปสู่ความสำเร็จนั้นได้อย่างไร เมื่อพบทางแล้ว ก็ประคับประคองความคิดนั้นให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องในลักษณะไม่เคร่งเครียดจนกร้าว และปล่อยเฉยจนเฉื่อยชา ในขณะเดียวกันก็ประคับประคองการแสดงออกทั้งทางกายและวาจา ให้สอดคล้องกับความคิด จนเข้าได้กับบุคคล กาลเทศะอย่างไม่เสียหลักธรรม
ความพอดีดังกล่าวมานี้ เรียกได้ว่า ทางสายกลาง ซึ่งเป็นข้อปฏิบัติส่วนตนส่วนที่เกี่ยวกับส่วนรวมก็มีทางนำมาประยุกต์ใช้ได้
ที่มา :
๑. สมบัติ จำปาเงิน. วันสำคัญของเรา. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊ค, ๒๕๔๗.
|
|
|